วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

มวลสาร ที่ใช้ในการสร้างพระรอดมหาวัน

มวลสาร ที่ใช้ในการสร้างพระรอดมหาวัน

"ตำนานการสร้างพระรอด กล่าวถึงสุกกทันตฤษี และวาสุเทพฤษี ประชุมฤษี ๑๐๘ รูป  มาชุมนุมสร้างโดยเอาดินบริสุทธิ์จากใจกลางทวีปทั้ง ๕  ตัวยา ๑,๐๐๐ ชนิด  เกสรดอกไม้ ๑,๐๐๐ ชนิด  และว่าน ๑,๐๐๐ ชนิด  มาผสมกันจนละเอียดกดลงในพิมพ์นำไปเผา  เสร็จแล้วสุกกทันตฤษี และวาสุเทพฤษี  ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่  สีเขียว  สีเขียวอ่อน  สีขาวปนเหลือง  สีดำ  สีแดง สีดอกพิกุล เป็นต้น  (บางตำราแบ่งออกเป็น ๖ สีคือ สีเขียว สีพิกุล สีแดง สีเขียวคราบเหลือง สีเขียวคราบแดง สีเขียวหินครก)   นอกจากนี้ ยังมีแม่พระรอดซึ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยหินศิลาดำอ่อนๆ หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว  สูง ๓๖ นิ้ว"
พระรอดแยกเป็นเนื้อสองประเภท เนื้อดินดิบและเนื้อดินเผา ดินดิบแยกเป็นสองประเภท เผาและไม่เผา ดินเหนียวผสมมวลสารบังคับ และนำไปเผาในหม้อดินเผาที่อยู่ใกล้ไฟ เนื้อพระจะออกสีเขียว(ความร้อนเกินกว่า 1000 องศาเซนติเกรด)เนื้อที่ไกลไฟออกไปจะเป็นสีแดง สีอิฐ ไพแห้ง อีกวิธี จะใช้แสงแดดหุงหรือเผาด้วยไฟอ่อนๆ จะใช้กับเนื้อพระที่สร้างด้วยดินศิลาธิคุณผสมว่าน(ดินบริสุทธิ์กรองละเอียดและดินชนิดนี้มีคุณสมบัติรักษาเนื้อว่าน)มีความแข็งแกร่ง เมื่อแห้งแล้วเซ็ทตัว และมักนิยมเรียกกันว่าเนื้อดินดิบ เนื้อพระมีสีดอกพิกุล สีขาวดอกจำปา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น