วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พุทธคุณ พระรอดมหาวันลำพูน จากประสบการณ์ ต่างๆ

พุทธคุณ พระรอดมหาวันลำพูน จากประสบการณ์ ต่างๆ
พระรอดมหาวันลำพูน ตามประสบการณ์คนในพื้นที่ ผู่เฒ่าผู้แก่ เวลาลูกหลาน จะเกณฑ์ ทหาร จับใบดำ ใบแดง มักให้ลูกหลาน นำพระรอดมหาวันติดตัว เชื่อว่าจะทำให้แคล้วคราด มานักต่อนัก
บางท่านลูกหลานไม่สบายหนักไม่รู้ทำอย่างไรก็ฝนพระรอด หรือนำไปแช่แล้วอธิฐานของอำนาจ พระรัตนตรัย สิ่งสักศิทธิ์ เพื่อให้หายจากอาการป่วย วัยรุ่น สมัยก่อนนิยมห้อยพระรอดมหาวันติดตัว เวลามีเรื่องมีราว จะได้เอาตัวรอดแคล้วคลาดได้ดีนักแล
บทความจากผู้เขียน....

พระรอดลำพูน ถือเป็น 1 ใน 2 พระชุดเบญจภาคีที่มีอายุมากที่สุด และมีมูลค่าสูงสุด ได้ถึง 10 ล้านบาท มีทั้งหมด 6 พิมพ์ คือ พระรอดพิมพ์ใหญ่, พระรอดพิมพ์กลาง, พระรอดพิมพ์เล็ก, พระรอดพิมพ์ต้อ, พระรอดพิมพ์ตื้น และพระรอดพิมพ์บ่วงเงินบ่วงทอง พิมพ์สุดท้ายหาได้ยากที่สุด"


อานุภาพของพระรอดนั้นมีฤทธิ์เป็นเลิศทางด้านแคล้วคลาดอย่างน่าฉงน คุณชิงชัย นักการเมืองท้องถิ่นชื่อดังแห่งคลองสาน เคยเล่าไว้ว่า สมัยปี พ.ศ.2514 นั่งรถทัวร์ไปเชียงใหม่ มีโจรแอบขึ้นมาบนรถด้วยแล้วปล้นเอาทรัพย์สินของมีค่าจากผู้โดยสาร คุณชิงชัยเอามือกำพระรอดพิมพ์กลางของตนเองแล้วอธิษฐานจิตขอให้ช่วยให้รอดด้วย ทุกคนโดนปลดทรัพย์หมดมีแต่คุณชิงชัยคนเดียวที่รอดมาอย่างน่าแปลก

"ของแบบนี้ผมว่าต้องเจอกับตัวเองถึงจะรู้สึกเชื่อและเข้าใจว่าเรื่องความขลังเหล่านี้มันเกิดขึ้นจริงๆ นอกจากนี้พระรอดลำพูน ยังเป็นพระที่ถูกห้อยไปเกณฑ์ทหารเยอะที่สุด และคนที่ห้อยพระรอดไปเกือบทั้งหมดจับได้ใบดำ จึงถือเป็นอีก 1 ปาฏิหาริย์ที่ไม่มีใครเคยลบหลู่ เพราะเรื่องทั้งหมดมันเกิดขึ้นจริง นอกจากนี้ยังหากใครมีไว้บูชา จะส่งผลในด้านเมตตามหานิยมอีกด้วย"https://www.thairath.co.th/content/1328941

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

นามว่า พระรอดได้มาจากไหน ?

นามว่า พระรอดได้มาจากไหน ?
พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือ

พระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

มวลสาร ที่ใช้ในการสร้างพระรอดมหาวัน

มวลสาร ที่ใช้ในการสร้างพระรอดมหาวัน

"ตำนานการสร้างพระรอด กล่าวถึงสุกกทันตฤษี และวาสุเทพฤษี ประชุมฤษี ๑๐๘ รูป  มาชุมนุมสร้างโดยเอาดินบริสุทธิ์จากใจกลางทวีปทั้ง ๕  ตัวยา ๑,๐๐๐ ชนิด  เกสรดอกไม้ ๑,๐๐๐ ชนิด  และว่าน ๑,๐๐๐ ชนิด  มาผสมกันจนละเอียดกดลงในพิมพ์นำไปเผา  เสร็จแล้วสุกกทันตฤษี และวาสุเทพฤษี  ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่  สีเขียว  สีเขียวอ่อน  สีขาวปนเหลือง  สีดำ  สีแดง สีดอกพิกุล เป็นต้น  (บางตำราแบ่งออกเป็น ๖ สีคือ สีเขียว สีพิกุล สีแดง สีเขียวคราบเหลือง สีเขียวคราบแดง สีเขียวหินครก)   นอกจากนี้ ยังมีแม่พระรอดซึ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยหินศิลาดำอ่อนๆ หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว  สูง ๓๖ นิ้ว"
พระรอดแยกเป็นเนื้อสองประเภท เนื้อดินดิบและเนื้อดินเผา ดินดิบแยกเป็นสองประเภท เผาและไม่เผา ดินเหนียวผสมมวลสารบังคับ และนำไปเผาในหม้อดินเผาที่อยู่ใกล้ไฟ เนื้อพระจะออกสีเขียว(ความร้อนเกินกว่า 1000 องศาเซนติเกรด)เนื้อที่ไกลไฟออกไปจะเป็นสีแดง สีอิฐ ไพแห้ง อีกวิธี จะใช้แสงแดดหุงหรือเผาด้วยไฟอ่อนๆ จะใช้กับเนื้อพระที่สร้างด้วยดินศิลาธิคุณผสมว่าน(ดินบริสุทธิ์กรองละเอียดและดินชนิดนี้มีคุณสมบัติรักษาเนื้อว่าน)มีความแข็งแกร่ง เมื่อแห้งแล้วเซ็ทตัว และมักนิยมเรียกกันว่าเนื้อดินดิบ เนื้อพระมีสีดอกพิกุล สีขาวดอกจำปา

ประวัติความเป็นมา การสร้างพระรอดมหาวัน ลำพูน

ประวัติความเป็นมา การสร้างพระรอดมหาวัน ลำพูน

วัดมหาวัน อำเภอเมือง เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองนครหริภุญไชย  เมื่อประมาณปี   พ.ศ. ๑๒๐๐ เศษ   และได้อัญเชิญ พระพุทธรูปนาคปรก หรือ พระดิลกดำ จากเมืองละโว้ มาไว้ที่วัดนี้ ชาวเมืองเรียกกันว่า พระรอดหลวง หรือ พระรอดลำพูน ซึ่งต่อมาได้เป็น แบบพิมพ์จำลอง พระเครื่อง ที่ลือชื่อกรุหนึ่ง ชื่อ พระรอดมหาวัน

ซึ่งพระอารามนี้ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกห่างจากประตู มหาวัน อันเป็นประตูเมืองด้านทิศตะวันตก  ประมาณ ๕๐ เมตร  หน้าพระอารามหันไปทางทิศตะวันออก  ตรงกันข้ามกับคูเมือง  ที่ตั้งวัดนี้เดิมเป็นมหาวนาราม พระอารามหลวง  ซึ่งพระนางจามเทวีโปรดให้สร้างขึ้น เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๑๒๐๐ เศษ

ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร  ได้มีการปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ในวัดมหาวันขึ้นมาใหม่ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๘  ซึ่งแต่เดิมองค์เจดีย์ยอดปรักหักพังลงไป  พระรอดซึ่งถูกบรรจุไว้ได้กระจัดกระจายไปพร้อมกับยอดเจดีย์ซึ่งหักพังลงไปทางทิศตะวันตก  เพราะได้มีผู้ขุดพบยอดพระเจดีย์ซึ่งเป็นศิลาแลงทางทิศนั้น  อนึ่งปรากฏว่า มีผู้ค้นพบพระรอดได้เป็นจำนวนมากมายทางทิศนี้ด้วย ซึ่งมีมากกว่าทิศอื่นๆ จนกระทั่งสถานที่ขุดได้กลายเป็นบ่อน้ำ (บ่อน้ำปัจจุบัน) ในการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ในครั้งนี้ได้พบพระรอดจำนวนมากในซากกรุเจดีย์วัดมหาวัน  พระรอดส่วนหนึ่ง ได้รับการบรรจุเข้าไปไว้ในพระเจดีย์ใหม่ และบางส่วนได้มีผู้นำไปสักการบูชา  แต่ยังมีอีกบางส่วนที่ปะปนกับเศษซากกรุเก่า กระจายไปทั่วบริเวณวัด

ในสมัยเจ้าหลวงอินทยงยศ  ทรงได้พิจารณาเห็นว่ามีต้นโพธิ์ แทรกตรงบริเวณฐานเจดีย์มหาวันและมีรากลึกลงไปภายในองค์พระเจดีย์ทำให้มีรอยร้าวชำรุดหลายแห่ง  จึงได้ทำการฏิสังขรณ์ฐานรอบนอกองค์พระเจดีย์ใหม่ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ในการนี้ ได้พบพระรอดจำนวนมาก ประมาณหนึ่งกระเช้าบาตร (ตระกร้าบรรจุกับข้าวตักบาตร)  และได้นำมาแจกจ่ายบรรดาญาติซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้

ในสมัยต่อๆ มามีการขุดพบพระรอดอยู่เสมอ แต่มีจำนวนไม่มากนักข้อสังเกตในการขุดพบพระรอด ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งพบมากถึงประมาณ ๒๐๐ องค์  บริเวณที่พบพระรอดมักจะมีอิฐโบราณสลับซับซ้อนอยู่โดยรอบพระรอด และพระรอดจะฝังอยู่ในดินหรดาลซึ่งเป็นดินเนื้อละเอียดที่สุด มีสีเหลือง และมีกลิ่นหอมนวลๆ ซึ่งในการสร้างพระรอดสมัยต่อมา ได้นำดินหรดาล ผสมกับเศษพระรอด และพระอื่นๆสร้างป็นพระรอดขึ้นมา เช่น พระรอดครูบากองแก้ว

พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผา ละเอียดหนักนุ่มมาก องค์พระประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัยประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี – ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่วงสมัยหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 แบ่งลักษณะ แบบได้ 5 พิมพ์ทรง คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้นนั้น มีลักษณะจุดตำหนิโดยรวมที่เป็นสัญลักษณ์ปรากฏทุกพิมพ์ ในพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก เริ่มจากด้านบนของทั้งสามพิมพ์มีจุดโพธิ์ติ่ง ทั้งสามพิมพ์นี้มี 3 ใบ ปรากฏที่เหนือปลายเกศ และด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มใบโพธิ์แถวนอกจะใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่ทั้ง 3 พิมพ์นี้มีระดับสูงเกือบเสมอกัน เส้นรอยพิมพ์แตกมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่เท่านั้น มีรูปคล้ายตัวหนอนปรากฏเส้นข้างพระกรรณด้านซ้ายขององค์พระ เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมาวาดจากใต้ข้อศอก พระรอดใต้ฐานชั้นบน เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีฐาน 4 ชั้น พิมพ์กลาง เล็ก ต้อ ตื้น มีฐาน 3 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้นมีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานล่างที่สุดเรียกว่า ฐาน 2 ชั้น พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อไม่มี กลุ่มโพธิ์แถวนอกของทุกพิมพ์จะคล้าย ๆ กันเพราะทำมาจากช่างคนเดียวกัน นอกจากนั้นพิมพ์ต้อกับพิมพ์ตื้นกลับไม่ค่อยมีใบโพธิ์ในพิมพ์ตื้นมีพื้นผนัง โพธิ์แถวใน ใบโพธิ์ติดชิดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตกเป็นจุดสังเกต ในพิมพ์ต้อไม่ปรากฏโพธิ์แถวใน พื้นผิวติดองค์พระสูงลาดเอียงลงมา ที่กลุ่มโพธิ์แถวนอกเฉพาะตรงปลายเส้น ชี้นูนสูงที่สุดเป็นจุดสำคัญ นอกจากนี้ประการสำคัญที่สุดของพระรอด ที่ของปลอมจะทำเลียนแบบได้ยากคือ การจำรูปแบบพิมพ์ทรง และความเก่าของเนื้อเฉพาะพิมพ์ใหญ่จะปรากฏพระโอษฐ์ (ปาก) เม้มจู๋คล้ายปากปลากัด มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก เป็นจุดลับที่ควรสังเกตไว้ และกลุ่มโพธิ์แถวนอกของพิมพ์ใหญ่ด้านซ้าย ขององค์พระ มีระดับลาดเอียงเห็นได้ชัดเจนมาก เป็นจุดสังเกตที่ของปลอมจะทำได้ยาก

ตำนานการสร้างพระรอด กล่าวถึงสุกกทันตฤษี และวาสุเทพฤษี ประชุมฤษี ๑๐๘ รูป  มาชุมนุมสร้างโดยเอาดินบริสุทธิ์จากใจกลางทวีปทั้ง ๕  ตัวยา ๑,๐๐๐ ชนิด  เกสรดอกไม้ ๑,๐๐๐ ชนิด  และว่าน ๑,๐๐๐ ชนิด  มาผสมกันจนละเอียดกดลงในพิมพ์นำไปเผา  เสร็จแล้วสุกกทันตฤษี และวาสุเทพฤษี  ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่  สีเขียว  สีเขียวอ่อน  สีขาวปนเหลือง  สีดำ  สีแดง สีดอกพิกุล เป็นต้น  (บางตำราแบ่งออกเป็น ๖ สีคือ สีเขียว สีพิกุล สีแดง สีเขียวคราบเหลือง สีเขียวคราบแดง สีเขียวหินครก)   นอกจากนี้ ยังมีแม่พระรอดซึ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยหินศิลาดำอ่อนๆ หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว  สูง ๓๖ นิ้ว  นั่งขัดสมาธิเพชรปัจจุบัน ประดิษฐานไว้ด้านหน้าพระประธานในวิหารวัดมหาวัน โดยชื่อเรียกว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่พระนางจามเทวีนำขึ้นมาจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) ถือว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์องค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองหริภุญไชย ลำพูนมาตราบเท่าทุกวันนี้

ลักษณะของพระรอด

พระรอดเป็นพระพิมพ์เนื้อดินขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน ๓ ทางได้แก่
๑) ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ
๒) ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด
๓) เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด

ลักษณะทั่วไปของพระรอด  เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว  พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง  ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง สามารถแบ่งได้ ๕ พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่  พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และ พิมพ์ตื้น บางตำราเพิ่มพิมพ์พระรอดหัวข่วง หรือพิมพ์บ่วงเงิน บ่วงทองเข้ามาเป็นหกพิมพ์

พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด จากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ  มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี

ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544 และ เว็บไซต์  http://www.rd.go.th/lamphun/52.0.htmlและhttp://www.zabzaa.com/พระเครื่อง/พระรอด.htm

ตำนานการสร้างพระรอดมหาวัน ลำพูน

หลายท่านอาจสงสัยว่าพระรอดวัดมหาวันลำพูน เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทำไมถึงมีราคาเช่าสูงนัก ผมอาจจะไขคำถามต่างๆ ได้ไม่ชัดเจนนักเพราะว่าไม่ใช่คนเล่นพระ แต่ถ้าจะถามถึงประวัติความเป็นมาของพระรอดและวัดมหาวันละก็ พอจะตอบได้บ้าง

เป็นที่รู้กันดีว่าวัดมหาวันลำพูน เป็นต้นกำเนิดของพระรอด ถ้าลองย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.1200 เศษ เมื่อมีฤาษีสององค์นามว่า วาสุเทพฤาษีและสุกกทันตฤาษี ซึ่งทั้งสองเป็นพระสหายกันได้ปรึกษาหารือ ตกลงที่จะสร้างเมืองใหม่ขึ้นทางริมฝั่งตะวันตกของแม่นํ้ากวง เมื่อพระฤาษีทั้งสองสร้างเมืองแล้วเสร็จ จึงได้ให้ควิยะบุรุษเป็นทูตไปอัญเชิญพระนางจามเทวี ราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ ขึ้นมาปกครองเมืองพร้อมด้วยข้าราชบริพาร พระสงฆ์ พราหมณาจรรย์ โหราราชบัณฑิต แพทย์และช่างต่างๆ อย่างละ 500

พระนางจามเทวี ทรงใช้เวลาเดินทางโดยล่องขึ้นมาตามแม่นํ้าปิงนานกว่า 7 เดือน จากบันทึกจามเทวีวงศ์พงศาวดารเมืองระบุว่า เมื่อพระนางจามเทวี เสด็จมาถึงนครหริภุญชัยได้ 7 วัน ก็ทรงประสูติพระโอรสทั้งสองพระองค์คือ อนันตยศและมหันตยศ หลังจากนั้นวาสุเทพฤาษีและสุกกทันตฤาษี พร้อมด้วย ประชาชนพลเมืองจึงได้พร้อมใจกันจัดพิธีราชาภิเษกพระนางจามเทวีขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ เสวยราชสมบัติในเมืองหริภุญชัย

เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จขึ้นครองเมืองหริภุญชัยแล้ว พระองค์จึงได้ชักชวนอาณาประชาราษฎร์ให้ร่วมกันสร้างพระอารามใหญ่น้อย เพื่อถวายแด่พระรัตนตรัย ทั้งยังเป็นที่พำนักของพระสงฆ์ที่มาจากกรุงละโว้ ซึ่งวัดต่างที่พระนางจามเทวีได้ทรงสร้างขึ้นมีอยู่ 5 วัดด้วยกัน
– วัดอรัญญิกรัมมาราม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ปัจจุบันคือวัดดอนแก้ว รวมกับ วัดต้นแก้ว
– วัดมูลการาม อยู่ทางทิศใต้ คือวัดกู่ละมัก (ลมักกัฏฐะ) ปัจจุบันคือ วัดรมณียาราม
– วัดอาพัทธาราม อยู่ทางทิศเหนือ ปัจจุบันคือ วัดพระคงฤาษี
– วัดมหาลดาราม อยู่ทางทิศใต้ ปัจจุบันคือ วัดประตูลี้
– วัดมหาวนาราม อยู่ทางทิศตะวันตก ปัจจุบันคือ วัดมหาวัน

เมื่อสร้างวัดขึ้นทั้ง 5 วัดแล้ว พระนางจามเทวีก็ได้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ทั้ง 5 วัด ส่วนวาสุเทพฤาษีและสุกกทันตฤาษี จึงได้มาปรารภกันว่าเมืองหริภุญชัยนครนี้ มีสตรีเป็นเจ้าผู้ครองนคร ในอนาคตข้างหน้าอาจจะมีข้าศึกมารุกราน ทั้งสองจึงได้ปรึกษาหารือที่จะสร้างเครื่องลางของขลังไว้ เพื่อเป็นที่สักการบูชารักษาบ้านเมือง และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เหล่าทหารและอาณาประชาราษฎร์ จึงได้ผูกอาถรรพณ์ไว้ตรงใจกลางเมือง แล้วจัดหาดินลำพูนทั้ง 4 ทิศ พร้อมด้วยว่านอีกหนึ่งพันชนิด และเกสรดอกไม้มาผสมเข้าด้วยกันกับเวทมนตร์คาถา

จากนั้นคลุกเคล้ากันจนได้ที่จัดสร้างพระพิมพ์ขึ้น 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเรียกว่า พระคง เพื่อความมั่นคงของนครหริภุญชัย อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า พระรอด เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็สุมไฟด้วยไม้มะฮกฟ้าหรือป่ารกฟ้า เป็นเวลานาน 7 วัน 7 คืน แล้วจึงนำพระคงที่เผาแล้วไปบรรจุไว้ที่วัดพระคงฤาษี นำพระรอดไปบรรจุไว้ที่วัดมหาวัน

ปัจจุบันพระรอดวัดมหาวัน กลายเป็นพระเครื่องชื่อดัง ที่มีราคาค่าเช่าสูงมาก ทั้งยังถูกบรรจุไว้เป็นพระกรุเก่าแก่หนึ่งในเบญจภาคี ที่นักนิยมพระเครื่องต่างแสวงหา แม้ในระยะหลังจะมีการทำพระรอดขึ้นมาใหม่ ทว่าพระรอดเก่าที่ถูกขุดโดยชาวบ้าน ก็กระจายไปอยู่ในมือของนักสะสมพระทั่วไป

คัดลอกมาจาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/554750

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พระรอดมหาวัน บทนำ

                                                               พระรอดมหาวัน บทนำ


อันจะกล่าวถึงสุดยอด วัตถุมงคล อันเป็นที่ยกย่องว่าเป็ฯหนึ่งใน เบญจภาคี ทั้ง 5 คงหนีไม่พ้น พระรอดมหาวัน ลำพูน ของดีแห่งล้านนา เหนือ อันเนื่องมาจาก ความหายาก ด้วยอายุที่เก่าแก่สุด คือ ราว 1250 ปีมาแล้ว สร้าง สมัยพระนางจามเทวี ครองเมือง หริปุนชัย ด้วยมวลสาร พุทธศิลป์ อันงดงาม ความเก่าของเนื้อพระ จึงไม่แปลกเลยที่จะมีคนที่ต้องการไว้ครอบครอง แต่จะมีสักกีคนที่ได้ครอบครองของแท้ๆ ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น 1 ในเบญจภาคี ของเลียนแบบก็มากเป็นอันดับต้น เราคนรุ่นหลังจึงเพียงได้แต่มอง และศึกษาตามเท่านั้น แต่ก็ยังมีสร้างมาแท้แบบ ย้อนยุค เอามวลสารเก่ามาทำใหม่ เพื่อเป็นการระลึกถึง และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่วาสนามันก็ไม่แน่ วันดีคืนดี อาจมาตกในมือเราก็อาจเป็นได้โลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน เรามาศึกษาร่วมกันครับ โปรดติดตามสาระดีๆ ได้ในเวปครับ ผมจะพยายามหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดครับ ขอบคุณครับ