วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ลักษณะโดยทั่วไปของพระรอด

ลักษณะของพระรอด

พระรอดเป็นพระพิมพ์เนื้อดินขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน ๓ ทางได้แก่
๑) ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ
๒) ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด
๓) เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด



ลักษณะทั่วไปของพระรอด  เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว  พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง  ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง สามารถแบ่งได้ ๕ พิมพ์คือ พิมพ์ใหญ่  พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และ พิมพ์ตื้น บางตำราเพิ่มพิมพ์พระรอดหัวข่วง หรือพิมพ์บ่วงเงิน บ่วงทองเข้ามาเป็นหกพิมพ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น